วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คุยกับนักปราชญ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ 1 คน เหมือนอ่านหนังสือ 1,000 เล่ม

วันนี้เวลา 21.20 น. หลังจากได้เมล์ติดต่อเว็บไซต์ http://www.chiraacademy.com/ ประมาณ 10 นาที หลังจากนั้น...ความภาคภูมิใจสำหรับนักวิชาการ นักพัฒนาอย่างกระผม ก็คือ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งมีตำแหน่งเป็น เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้โทรศัพท์มาจากกรุงเทพฯ เพื่อจุดประกาย และให้แง่คิดในเรื่องภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ :
- ขั้นต้นท่านได้กล่าวถึง ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และได้ยกตัวอย่างการปลูกข้าวหอมมะลิ ถ้าปลูกธรรมดาก็ปลูกแล้วปล่อยตามธรรมชาติ ปีแล้วปีเล่าไม่มีการพัฒนาอะไร แต่ท่านได้ให้มุมมองในฐานะนักพัฒนาฯว่า ถ้าเราสามารถนำวิธีการ&กระบวนการปลูกข้าวหอมมะลิมาสร้างเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ พินิจ พิเคราะห์ดูกระบวนการในแต่ละปี เรียนรู้และพัฒนากระบวนการผลิต ก็จะเกิดนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ (จากสภาพปัญหาเดิม...ซึ่งตรงกับศาสตร์ทางวิธีการแก้ปัญหาของชาวญี่ปุ่นที่ว่า ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เพียงแต่ดูอันเดิม ทบทวน ครั้งแล้ว ครั้งเล่า หาปัญหาที่แท้จริง แล้วแก้ให้ตรงจุด..ก็เกิดปัญญาแล้ว)
- ในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่ง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้บอกว่าเคยอบรมและพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารและบุคลากรไปแล้ว 8-9 ครั้ง ท่านให้มุมมองว่า ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการเชิงระบบคือ พัฒนาความสามารถ โดยการกระตุ้นหรือจุดประกายให้"คิด" คิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างสร้างสรรค์ และนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ ส่วน"ผู้นำ" ท่านได้ให้มุมมองว่า การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ จะต้องทำให้ผู้ตามหรือคนรอบข้าง "ดีขึ้น" คำว่า ดีขึ้นเป็นการมองอย่างหลากหลายมิติ คือต้องฝึกหรือพัฒนาให้เขา คิดนอกกรอบ ให้ได้
ในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาควรจะจุดประกายหรือเริ่มตั้งแต่คณะผู้นำสูงสุด(เพราะจะเป็นคนชี้นำหรือนำพาองค์กรไปในทิศทางที่ตัวเองคาดหวัง) โดยพัฒนาหรือเพิ่มเติมโลกทัศน์ วิสัยทัศน์ ให้กว้างไกล เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แบ่งปันความรู้ และสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ที่สำคัญต้องมี"คุณภาพ" ด้วย มุมมองที่ผู้บริหารจะเป็นคนขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เพราะถ้าผู้บริหารมีความคิดสร้างสรรค์ คิดกว้างไกล มองแบบท้องฟ้า มีอิสระในการคิดและมองแล้ว ลูกน้องก็จะมองกว้าง ๆ มีโลกทัศน์กว้าง และรวมพลังทำงานให้ถึงเป้าหมายได้ สรุปว่า ผู้บริหารและบุคลากร ต้องมีโลกทัศน์ มีวิสัยทัศน์ ที่กว้างไกล มีการเรียนรู้ตลอดเวลาและหลากหลายมิติ...
- ท่านได้บอกว่า "ความฝันของท่านคือ การทำให้คนไทยมีระบบคิดที่ดี สร้างสรรค์ มีความคิดเป็นของตนเอง นอกกรอบ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และมี เหตุและผล "
จากที่ได้สนทนา แลกเปลี่ยนความรู้กับท่านแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าได้เกิดประกายแห่งการพัฒนา และสร้างสรรค์เยาวชนให้เป็นคนสร้างสรรค์และเป็นกำลังหลักของประเทศชาติสืบไป

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

- แนวความคิดในการรีวิว (รศ.ดร.วิโรจน์) แนะนำ

หัวข้อ : โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา
ให้ศึกษาตามกรอบดังต่อนี้
......... 1. Log Frame
......... 2. Creative Leadership (เน้น)
................. คืออะไร หาคำนิยาม ทั้งไทย ต่างประเทศ (หาความหมายเชิงปฏิบัติการ)
................. ความสำคัญ ประโยชน์ ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์
................. ตัวประกอบ องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์
................. จะพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์อย่างไร (มองดูด้านพฤติกรรม)
......... 3. การพัฒนา Leadershiip

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

- โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา

"โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา"
3 ก.ค. 2553 โดย รศ.ดร.วิโรจน์ สารรัตนะ (ตอนเช้า)
......... - การ Review จะ Review จากภาพใหญ่ไปหาเล็ก ระบบคิดพื้นฐาน สู่ ความเป็นตรรกะ
......... - หางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 10 เรื่อง ควรเป็นไทยและอังกฤษด้วย
..........- แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำ จะพัฒนายังไง พัฒนาอย่างไร พัฒนาแล้วได้อะไร
........... (อิงทฤษฏี...ห้ามความรู้สึก)
.......... - Review แนวทาง องค์ประกอบ ปัจจัย ฯลฯ ที่เกี่ยวกับ "ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์"
3 ก.ค. 2553 โดย ผศ.ดร.ทวีชัย (ตอนบ่าย)
.......... - พอได้ชื่อแล้วให้ดูคำถามการวิจัย ขอบเขตการวิจัย กระบวนการหาคำตอบ
.......... - การอ้างอิงต้องมีหลักการ ทฤษฏี ไม่ใช้ความรู้สึก
...........- หาเครื่องมือวัด ภาวะผู้นำ (ด้านพฤติกรรม)
...........- Review -----> Log Frame , Leadership , Creative Leadership ,
.............Programs Development Creative Leadership
............ Student Development , Evaluation Student Development
........... - การเข้าถึงข้อมูล เข้าให้ถึงแก่น และต้องเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้
............ - .com ไม่น่าเชื่อถือ ต้อง .net , .edu , .org เป็นต้น คนทำก็ควรจะ ศ. หรือ รศ.ดร.
........... - ความทันสมัย (ดู พศ. ไม่ควรเกิน 5 ปี) และ ถ้าจะให้ดีก็ควรจะเป็นต้นฉบับ